ก๊อปหรือแชร์ภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต อาจเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์

 

ก๊อปหรือแชร์ภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต อาจเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์

          ภาพยนตร์เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กรณีการก๊อปหรือแชร์ภาพยนตร์บนสื่อออนไลน์ ถือเป็นการทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน หากกระทำโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ ไม่ว่ในส่วนที่เป็นเสียงหรือภพ อาจเข้าข่ายเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ได้ โดยผู้กระทำละเมิดอาจต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท และหากเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำละเมิดอาจต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาท
ถึง 800
,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

          นอกจากนี้ การทำซ้ำภาพยนตร์โดยการบันทึกเสียงหรือภาพหรือทั้งเสียงและภาพจากในโรงภาพยนตร์ในระหว่างการฉาย (การแอบถ่ายในโรงภาพยนตร์) ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ อาจเข้าข่ายเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ ซึ่งไม่อาจอ้างข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ว่าเป็นการใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวได้ โดยผู้กระทำอาจต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:

           พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 28, 28/1, 32 วรรคสอง (2), 69 และ 69/1 (Click)


Comments

Popular posts from this blog

พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU) ว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ ภายใต้โครงการเครือข่ายศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีนวัตกรรมระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญา และ 10 สถาบันอุดมศึกษา (Virtual conference)

อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา พบหารือกับนางเรนา ลี (Mrs. Rena Lee) หัวหน้าสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาสิงคโปร์ ผ่านระบบออนไลน์